วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565
หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565
หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง 2565) ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศที่ผ่านมา เพื่อลดความซ้ำซ้อนกับหลักสูตรอื่น ๆ โดยบูรณาการปรับปรุงหลักสูตรให้หลักสูตรมีความรู้ในหลากหลายศาสตร์เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา โดยปรับปรุงชื่อและหลักสูตรให้มีความทันสมัยกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยปรับปรุงชื่อจาก “วิศวกรรมสารสนเทศ” ให้เป็นชื่อ “วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ”
หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศได้ดำเนินการหลักสูตรให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (บันได 5 ขั้น) โดยสอดคล้องตามนโยบายของสถาบันในเรื่อง “Disruptive Curriculum” ให้หลักสูตรมีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และยังเป็น Disruptive Curriculum ในแง่ของการบูรณาหลักสูตรโดยมีความร่วมมือกับทางคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ หลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ สจล. ในโครงการหลักสูตรสองปริญญา เพื่อทลายกำแพงระหว่างคณะ และส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และมีความรู้ที่รอบด้าน
หลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากเทคโนโลยีระบบไอโอทีนั้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยืที่มีความสำคัญ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ชาตินั้น อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การส่งเสริมหรือตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การปรับปรุงหลักสูตรนี้ ได้ปรับปรุงโดยออกแบบหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น เป็นหลักสูตรมีรายวิชาที่ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนตามความถนัดมีรายวิชาบังคับเลือก เน้นการเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติ มีการบูรณาการในหลายองค์ความรู้ มีความร่วมมือกับบริษัทหรือภาคอุตสาหกรรมในการเรียนการสอน และปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ระหว่างวงรอบการรับรอง มาตรฐานคุณภาพการศึกษา (ปีการศึกษา 2562–2567) ของสภาวิศวกร (Thailand Accreditation Body for Engineering Education, TABEE)
ชั้นปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 1
วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับวิศวกรได้แก่ CALCULUS 1, GENERAL PHYSICS 1, GENERAL PHYSICS LABORATORY 1
วิชาพื้นฐานทางการเขียนโปรแกรม อันเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตร ได้แก่วิชา COMPUTER PROGRAMMING
วิชาพื้นฐานทางระบบไอโอทีและสารสนเทศ ได้แก่ INTRODUCTION TO INTERNET OF THINGS ทำให้น้อง ๆ ได้ศึกษาภาพรวมของระบบไอโอทีและสารสนเทศทั้งหมด เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นว่าตัวเองสนใจในด้านใด โดยได้ศึกษาทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติการ จบวิชานี้น้องๆจะสามารถพัฒนาโครงงานด้านไอโอทีขนาดเล็กได้
วิชาศึกษาทั่วไปที่ทำให้น้อง ๆ พร้อมกับการเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าในโลกยุค Disruption นี้
ภาคเรียนที่ 2
วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับวิศวกรต่อจากเทอมที่แล้วได้แก่ CALCULUS 2, GENERAL PHYSICS 2, GENERAL PHYSICS LABORATORY 2
วิชาพื้นฐานทางการเขียนโปรแกรมขั้นสูง ประกอบด้วย การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและโครงสร้างข้อมูล ได้แก่วิชา OBJECT-ORIENTED PROGRAMMING AND DATA STRUCTURE
วิชาพื้นฐานทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า และการออกแบบวงจรและระบบดิจิทัล ได้แก่วิชา CIRCUIT AND ELECTRONICS, FUNDAMENTAL OF DIGITAL SYSTEM DESIGN
วิชาศึกษาทั่วไปทางด้านกีฬา (SPORT AND RECREATION) และการเตรียมความพร้อมสำหรับวิศวกร (PRE-ACTIVITES FOR ENGINEERS)
นอกจากนี้ ในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ 1 นี้ น้อง ๆ สามารถสมัครเพื่อเข้าเรียนในโครงการหลักสูตรสองปริญญากับหลักสูตร วท.บ.ฟิสิกส์อุตสาหกรรม โดยจะเริ่มเรียนในเทอมถัดไป
ชั้นปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 1
ในเทอมนี้น้องๆจะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมขั้นสูง เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์กับกระบวนการทางวิศวกรรมและการแก้ปัญหาในขั้นสูงได้ ด้วยวิชา ELEMENTARY DIFFERENTIAL EQUATIONS AND LINEAR ALGEBRA และ ENGINEERING STATISTICS
วิชาทางด้านระบบฮาร์ดแวร์โดยน้อง ๆ จะได้เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว ได้รู้จักอุปกรณ์สมาร์ทเซ็นเซอร์ และการการเข้าใจว่าโลกของทางกายภาพของฮาร์ดแวร์และระบบต่าง ๆ สามารถผนวกเข้ากับโลกทางไซเบอร์ได้อย่างไร ในวิชา MICROCONTROLLER AND EMBEDDED SYSTEM และ CYBER-PHYSICAL SYSTEM AND SENSOR
วิชาพื้นฐานทางด้านการสื่อสารและการแพร่กระจายสัญญาณอันเป็นหัวใจสำคัญของระบบไอโอทีและสารสนเทศ ในวิชา PRINCIPLES OF COMMUNICATIONS และ ELECTROMAGNETIC FIELDS
ภาคเรียนที่ 2
ในเทอมนี้น้อง ๆ จะได้ศึกษาคณิตศาสตร์ดิสครีต อันเป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์ คือวิชา DISCRETE MATHEMATICS
วิชาทางด้านการเขียนโปรแกรมในเทอมนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนการเขียนโปรแกรมประยุกต์ในการพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน รวมถึงการออกแบบอินเตอร์เฟสและประสบการณ์ผู้ใช้งานควบคู่กันไปในเทอมนี้ ในวิชา MOBILE APPLICATION DEVELOPMENT และ INTERACTION DESIGN
ในด้านวิชาทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายในระบบไอโอทีและระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ได้แก่ วิชา IoT NETWORKS AND DATA COMMUNICATIONS และวิชา CYBER SECURITY SYSTEMS
ชั้นปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1
วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์อีกวิชาหนึ่งคือการศึกษาคณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการข้อมูล อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการคำนวณทางด้านปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิงในชั้นสูงต่อไป (วิชา MATHEMATICS FOR DATA SCIENCE)
วิชาปัญญาประดิษฐ์ (AI) อันเป็นวิชาสุดฮอต น้อง ๆ จะได้เรียนในเทอมนี้ โดยไม่ใช่ AI ธรรมดา แต่ยังเป็น AIoT นั่นคือ AI ที่มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศ ได้แก่วิชา ARTIFICIAL INTELLIGENCE OF THINGS
ในเทอมนี้ น้อง ๆ จะมีโอกาสได้เลือกเรียนวิชาในโมดูลต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ ในรายวิชาบังคับเลือก โดยมีทั้งโมดูลทางด้านวิทยาการข้อมูล โมดูลด้านระบบเครือข่ายและการสื่อสาร โมดูลด้านซอฟต์แวร์และการประยุกต์ และโมดูลด้านฮาร์ดเแวร์และสมองกลฝังตัวขั้นสูง โดยสามารถเลือกเรียนรายวิชาตามโมดูลที่ตนเองสนใจ หรือเรียนต่างวิชา ต่างโมดูลก็ได้เช่นเดียวกัน
และยังมีวิชาปฏิบัติการ (IoT System and INFORMATION LABORATORY 1) ให้น้อง ๆ ได้ฝึกปฏิบัติการทางด้านระบบไอโอทีและสารสนเทศเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถให้สูงขึ้น
ภาคเรียนที่ 2
ในเทอมนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนระบบไอโอทีที่ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือไอไอโอที (INDUSTRIAL INTERNET OF THINGS) เพื่อให้เข้าใจถึงระบบไอโอทีและสารสนเทศที่นำไปประยุกต์ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติการทางด้านระบบออโตเมชันที่ทำให้น้อง ๆ จะมีทักษะเพิ่มเติมอย่างแน่นอน
ในรายวิชาบังคับเลือก จะได้เรียนเพื่มเติมให้ครบ 9 หน่วยกิต หรือใครจะเรียนมากกว่านี้ก็ได้นะ ไม่ว่ากัน โดยมีทั้งโมดูลทางด้านวิทยาการข้อมูล โมดูลด้านระบบเครือข่ายและการสื่อสาร โมดูลด้านซอฟต์แวร์และการประยุกต์ และโมดูลด้านฮาร์ดเแวร์และสมองกลฝังตัวขั้นสูง โดยสามารถเลือกเรียนรายวิชาตามโมดูลที่ตนเองสนใจ หรือเรียนต่างวิชา ต่างโมดูลก็ได้เช่นเดียวกัน
และยังมีวิชาปฏิบัติการต่อเนื่องจากเทอมที่แล้ว (IoT System and INFORMATION LABORATORY 2) ให้น้อง ๆ ได้ฝึกปฏิบัติการทางด้านระบบไอโอทีและสารสนเทศเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถให้สูงขึ้น
เทอมหน้า น้อง ๆ จะต้องออกไปฝึกงานปฏิบัติการกับบริษัทหรืออุตสาหกรรมจริงแล้ว จึงมีวิชา SEMINAR WITH PROFESSIONALS โดยเป็นการจัดสัมมนาโดยเชิญวิทยากรภายนอก ศิษย์เก่า หรือผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อมาให้ความรู้เพิ่มเติม ถ่ายทอดประสบการณ์ และแนะนำสิ่งต่าง ๆ ให้กับน้อง ๆ ก่อนออกไปเผชิญโลกภายนอกกันจริง ๆ
ภาคเรียนที่ 3
ในเทอมนี้ น้อง ๆ จะได้ไปฝึกงาน (Industrial Internship) กับบริษัทหรืออุตสาหกรรมภายนอกสถาบัน นอกจากนี้ยังมีการฝึกงานกับต่างประเทศด้วยนะ เช่น ญี่ปุ่น จีน ใต้หวัน ยุโรป ฯลฯ ถ้ามีโอกาสบอกเลยว่าอย่าพลาดเลยทีเดียว เป็นประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้จริง ๆ
ชั้นปีที่ 4
ภาคเรียนที่ 1
ในปี 4 น้อง ๆ จะสามารถเลือกเรียนได้สองแบบ คือ แบบทำโปรเจ็ค หรือแบบทำสหกิจศึกษา
โดยการทำโปรเจ็ค (Capstone Project) น้อง ๆ จะได้นำความรู้ที่ได้เรียนมานำมาใช้แก้ปัญหาพัฒนาเป็นโครงงานที่สามารถนำไปประยุกต๋ใช้หรือแก้ปัญหาได้จริง และพัฒนาขึ้นมาตามหลักการทางวิศวกรรม
และยยังมีวิชาในหมวดวิชาเลือกเฉพาะสาขา ที่มีอยู่หลากหลายวิชาให้นักศึกษาเลือกเรียนตามความสนใจหรือประยุกต์ในด้านต่าง ๆ
สำหรับสหกิจศึกษา (Co-operative Education) น้อง ๆ จะได้ไปปฏิบัติงานจริงในอุตสาหกรรมหรือบริษัท โดยมีหัวข้อโครงงานหรือโปรเจ็คที่จะสามารถพัฒนาเพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานได้
ภาคเรียนที่ 2
สำหรับน้อง ๆ ที่ทำโปรเจ็คจะได้ทำโปรเจ็คต่อให้เสร็จสมบูรณ์ และนำเสนอกับอาจารย์